การวิจัยสหวิทยาการ

คณะกรรมการวิจัย บริการวิชาการ และการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยซึ่งมีพื้นภูมิหลังความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ มาร่วมกันทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการวิจัย และเปรียบเทียบผลวิจัยที่ได้ร่วมกัน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ แต่ยังคงมีส่วนที่เป็นความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาเดิมของตน (รัตนะ บัวสนธ์, 2559)
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีวิชาการก้าวหน้า รู้จักพัฒนา คุณธรรมนำใจ รับใช้สังคม ยึดหลักสัจจะ-บริการด้วยน้ำใจไมล์ที่สอง โดยดำเนินการตามภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งด้านการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพให้กับคณาจารย์ของคณะมาอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย อาทิเช่น การพัฒนาภายใต้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ เป็นต้น ประกอบกับมหาวิทยาลัยพายัพ ได้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยมีความร่วมมือภาคีเครือข่ายด้านพยาบาลศาสตร์ และการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ภายในคณะ ตามแผนการส่งเสริมงานวิจัย และแผนการจัดการความรู้ด้านการวิจัย อีกทั้งเพื่อให้สอดรับกับการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการจัดการความรู้: วิจัยเชิงสหวิทยาการ อย่างไรให้ปัง(ปุริเย่) เพื่อให้คณาจารย์มีแนวทางในการทำวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการร่วมกับต่างสาขาวิชา ต่อไป
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ ดังนี้
1. เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม หรือนำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป้าประสงค์ที่ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ และงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลยุทธ์ 2.2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ หรือผลงานนวัตกรรม ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 2.1.1 จำนวนผลงานทางวิชาการ ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 50 จำนวนผลงานทางวิชาการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป้าประสงค์ที่ 5.2 เพื่อให้บุคลากรและผู้บริหารมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ 5.2.1 ส่งเสริมการจัดการความรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในการพัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 5.2.1 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 5 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย
2. เป็นความรู้ที่สอดรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เป็นความต้องการของคณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค เนื่องจากเป็นปัญหาขององค์กรที่ประสบอยู่ และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยปีการศึกษา 2565 พบว่าคณาจารย์มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองในการทำวิจัยสหวิทยาการ
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และการจัดการความรู้ เพื่อ
1) อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการพัฒนางานวิจัยเชิงสหวิทยาการ
2) คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีโครงร่างการวิจัยเชิงสหวิทยาการ
3) เกิดองค์ความรู้ด้านการวิจัยของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

Tags: No tags

Comments are closed.