คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์
การวิจัยแบบบูรณา เป็นการวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม การวิจัยแบบบูรณาการจึงควรมีลักษณะสาคัญคือ1) การวิจัยที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆให้เป็นเนื้อเดียวกัน2) สร้างมูลค่า3) เกิดผลดีกับประชาชนจานวนมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร/แหล่งทุนต่างๆ ให้ความสาคัญอย่างมาก
นอกจากนี้สานักงานวิจัยแห่งชาติ ยังได้กล่าวถึงการวิจัยการวิจัยแบบบูรณาการ ในเอกสารแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ ปี พ.ศ. 2549 อีกว่างานวิจัยแบบบูรณาการ เป็นการวิจัยที่ผนวกสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีการรายงานผลงานวิจัยแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กับหน่วยงานบริหารนโยบายระดับชาติเพื่อนาไปสู่การดาเนินนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน มีการกาหนดภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ทันต่อปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ
ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับตัวในการทางานวิจัยของอาจารย์ให้สอดคล้องนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน การวิจัยแบบบูรณาเป็นเรื่องสาคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์จึงได้ดาเนินการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่คณาจารย์ภายในคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามเงื่อนไขและผลิตผลงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์