คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์
จริยธรรมในคนหรือมนุษย์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และถูกนามากาหนดเป็นเงื่อนไขสาคัญในทางวิชาการ ได้แก่ การนาผลการรับรองจริยธรรมในคน มากาหนดเป็นเงื่อนไขสาหรับตอบรับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการ หรือการขอตาแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดารงตาแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 กาหนดว่า งานวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลองจะต้องยื่นหลักฐานการรับรองจากกรรมการจริยธรรมของสถาบัน รวมถึง ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมในมนุษย์ด้วย ทั้งยังปรากฏอีกในกรณีผู้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยนาเงื่อนไขการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้วยเช่นกัน ดังนั้น จริยธรรมในมนุษย์จึงเป็นเรื่องสาคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ การผลิตผลงานวิจัยในประเด็นต่างๆ ย่อมมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์และอาจมีความเสี่ยงหรือมีผลกระทบต่อมนุษย์ซึ่งอาจเป็นผู้ที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยในฐานะผู้ให้ข้อมูลในการรับสัมภาษณ์ การตอบคาถามในลักษณะ focus group หรือการให้ข้อมูลโดยตอบในชุดคาถาม โดยความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรืออาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ สถานภาพทางสังคม หรือชุมชน จึงเป็นหน้าที่ของ นักวิจัยที่ต้องกาหนดวิธีการวิจัยหรือวิธีการเก็บข้อมูลที่มีความชัดเจนและเป็นระบบ ภายใต้กรอบของจริยธรรมในมนุษย์ และนักวิจัยต้องดาเนินกระบวนการวิจัยตามแผนการวิจัยที่กาหนดไว้โดยเคร่งครัด เพื่อให้โครงการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ดีและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ทั้งนี้ แม้เป็นผลงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ (Social Science Researcher) ซึ่ง และนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลหรือเป็นการศึกษาจากเอกสารเพียงอย่างเดียว ที่เรียกว่า การวิจัยเชิงเอกสาร ก็มีความจาเป็นเช่นกันที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติภายใต้หลักการจริยธรรมในมนุษย์เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์จึงได้ดาเนินการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่คณาจารย์ภายในคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามเงื่อนไขและผลิตผลงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์