หลักจริยธรรมในคนกับการจัดการเรียนการสอน

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

การวิจัยในคนย่อมมีความเสี่ยงและอาจมีผลกระทบต่อบุคคลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรืออาจส่งผล กระทบทางอ้อมต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ สถานภาพทางสังคม หรือชุมชน จึงเป็นหน้าที่ของ นักวิจัยที่จะต้องก าหนดวิธีการวิจัยที่ชัดเจนเป็นระบบ ภายใต้กรอบของจริยธรรมการวิจัยใน มนุษย์ และนักวิจัยต้องดาเนินกระบวนการวิจัยตามแผนการวิจัยที่กาหนดไว้โดยเคร่งครัด เพื่อให้ โครงการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ดีและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ปัจจุบัน มีนักวิจัยนิติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ (Social Science Researcher) บางส่วนที่ยังขาด ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนเนื่องจากจริยธรรมการวิจัยในคน ยังเป็นเรื่องแปลกใหม่สาหรับนักวิจัย และนักวิจัยมักเข้าใจผิด ว่าจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นเรื่องของการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น ซึ่งไม่มี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการวิจัยด้านนิติศาสตร์แต่อย่างใดเลย ส่งผลให้นักวิจัยละเลย เพิกเฉย ต่อการสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องของจริยธรรมการวิจัยในคน ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจที่สาคัญ คือ การผลิตกาลังคนให้มีคุณสมบัติพร้อมเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา จึงควรเพิ่มเติมองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวไว้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ทั้งเป็นการพัฒฯและเพิ่มศักยภาพทั้งต่อผู้สอน ผู้เรียน รวมถึงการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และทาการค้นคว้าข้อมูลได้ด้วยตนเองภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาเป็นสาคัญ ดังนั้น คณะนิติศาสตร์ จึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในด้านการเรียนการสอนโดยกาหนด ประเด็นองค์ความรู้ คือ “หลักจริยธรรมการวิจัยในคน” ให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต โดยกาหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วางแผนร่วมกันกับคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะนิติศาสตร์ ในการดาเนินกิจกรรมให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน และเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Tags: No tags

Comments are closed.