เทคนิคการจัดการห้องเรียน สำหรับนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเรียน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจ สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว เป็นต้น ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ผนวกกับปัจจัยเรื่องประเด็นยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 วรรค 2 และวรรค 3 จึงทาให้เป็นที่น่าสังเกตว่าขณะนี้ในมหาวิทยาลัยมีผู้เรียนซึ่งเป็นนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอยู่จานวนหนึ่ง และมีแนวโน้มที่ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเพิ่มจานวนมากขึ้นในอนาคต โดยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวมีทั้งประเภทที่ต้องการ การดูแลเป็นพิเศษในด้านกายภาพ และมีทั้งประเภทที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในด้านจิตใจ ด้วยข้อจากัดของนักศึกษากลุ่มดังกล่าวทาให้ในบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกได้ส่งผลกระทบต่อตัวนักศึกษา รวมทั้งเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ผู้สอน โดยเฉพาะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น การมอบหมายชิ้นงาน การทากิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงทาให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต จึงได้จัด โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ“เทคนิคการจัดการห้องเรียนสาหรับนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ” ไปประยุกต์ใช้ได้จริง อันจะนาไปสู่การวางแผนและบริหารจัดการการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อจากัดของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว รวมทั้งอันจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Tags: No tags

Comments are closed.