การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิด DIKW Pyramid

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ความท้าทายของขั้นตอนนี้ที่พบเห็นในหมู่ผู้ทำการวิจัยทั้งอาจารย์และนักศึกษาคือความลุ่มลึกในการทำข้อมูลดิบที่กระจัดกระจายให้กลายเป็นข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่ละเอียดลึกซึ้ง

DIKW Pyramid เป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นกระบวนการที่ข้อมูลดำเนินไป โดย D – Data (ข้อมูลดิบ, I – Information (ข้อมูลประมวลผล, K – Knowledge (ความรู้ และ W – Wisdom (ปัญญา การใช้แนวคิดนี้เข้ามาอธิบายการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้เห็นภาพกระบวนการที่ผู้วิจัยจะต้องทำกับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้นสามารถอธิบายปรากฏการณ์หรือตอบโจทย์วิจัย สามารถนำเสนอผลการวิจัยได้ชัดเจน และสามารถให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยนั้นได้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการเรียนการสอน

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ

ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ วิทยาการใหม่ๆ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิชา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนการสอน การทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของผู้เรียน จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิมเพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ควรการผลิตและการพัฒนาสื่อใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญต่อการทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง

แนวทางการให้คำปรึกษาเพื่อให้นักศึกษาเรียนจบตามหลักสูตร

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร

การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้ประพฤติ ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจนิสัยทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคมและประเทศชาติ จะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง และพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา ที่ต้องมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้ ส่งเสริมให้มี คุณธรรมและจริยธรรม ที่จะนำไปสู่ค่านิยมและพฤติกรรมที่ไม่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยมมากเกินไป เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพทำให้รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรม รู้จักพึ่งพาตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพนั้น ต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาเป็นองค์ประกอบ ทางคณะฯ ตระหนักและได้ให้ความสำคัญต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างมาก จึงได้ระบุหัวข้อองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน ในเรื่องของแนวทางการให้คำปรึกษาเพื่อให้นักศึกษาเรียนจบตามหลักสูตรเป็นการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น จากคณะกรรมการบริหาร คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร และทางคณะกรรมการการจัดการความรู้ประจำปี 2562 ได้ร่วมกันประชุมเพื่อเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ทีมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านของการปฏิบัติในเรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษามีส่วนสำคัญในการทำให้นักศึกษาสนใจและตั้งใจเข้าเรียนเพื่อให้จบตามหลักสูตร เป็นการสร้างเสริมวินัยและความรับผิดชอบของนักศึกษา และมีการสอดแทรกจริยธรรมคุณธรรมในการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คณาจารย์ในคณะฯ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในการเรียนการสอนในทางการบัญชี การเงินและการธนาคารได้

IC KM on Teaching

KM Committee of International College

There are six programs teaching at the International College of Payap University, i.e. three undergraduate programs including English Communication (EC), International Business Management (IBM), Hospitality Industry Management (HIM), and Information Technology (IT), as well as three graduate programs, i.e. Linguistics and Teaching English to Speakers of Other Languages (TESOL). English as been used as the medium language for teaching in all programs. Since in some programs the foreign students are from different countries speaking their own mother tongues which are not English. For some cases, the instructors will need to know how to communicate with students in English in effective ways.

The KM Committee of International College had discussions on the possible topics for KM activity which can help the instructors, students, and other people who were interested in joining the activity. The decision on the KM topic was finally made, i.e. the topics “The Year China Changed: Experiences of a Linguistic Academic in Asia” and “The Emergence of English as the World’s Language: A Personal Story” by Professor Emeritus Tom Scovel, a linguist and TESOL specialist from San Francisco State University.

การสอนดนตรีของ Zoltán Kodály กับการเรียนการสอนรายวิชาดนตรีในระดับมหาวิทยาลัย

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยดุริยศิลป์

ในการเรียนกลุ่มวิชาเอกบังคับของวิทยาลัยดุริยศิลป์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ต้องศึกษารายวิชา การอ่าน ฟัง เขียน (SIGHT - SINGING AND DICTATION I-IV) 2 (1–2–3) หน่วยกิต โดยเรียนต่อเนื่องกัน 4 ภาคการศึกษา คือวิชา ดยก.103 ดยก.104 ดยก.203 และดยก.204 ในรายวิชาเหล่านี้ มีหนังสือหลักที่ใช้คือ Kodály’s Reading Exercises จานวน 4 เล่ม คือ 333 Reading Exercises (Choral Method), 77 Two-part Excercises, 66 Two-part Excercises และ 55 Two-part Excercises หนังสือเหล่านี้ Zoltán Kodály ได้แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบฝึกหัดเพื่อช่วยในการฝึกร้องเพลง โดยได้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับจังหวะและทานอง ด้วยการผสมผสานดนตรีพื้นบ้านและบทกวีของชาวฮังการีเข้าด้วยกัน ซึ่งหนังสือชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในโรงเรียน คณะนักร้องประสานเสียง และในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนวิชาดนตรี โดยเฉพาะที่วิทยาลัยดุริยศิลป์ ได้ใช้แบบฝึกหัดทั้ง 4 เล่มนี้ในการเรียนการสอนตั้งแต่เปิดสอนในปี 2517 จนถึงปัจจุบัน
คณาจารย์วิทยาลัยดุริยศิลป์ จึงเห็นว่าควรมีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการใช้วิธีการสอนแบบ Kodály โดยได้เชิญวิทยากรผู้ที่ได้รับการอบรมในหลักสูตร Kodály Certification Program. Don Wright Faculty of Music Western University เมือง London รัฐ Ontario ประเทศ Canada คือ ผศ.ดร.คณิเทพ ปิตุภูมินาค จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้กับคณาจารย์ของวิทยาลัย

นวัตกรรมการเรียนการสอนทางการพยาล

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้
1. อาจารย์สุภาวดี ทับกล่ำ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิษย์เก่าพยาบาลแมคคอร์มิค
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งฤดี วงศ์ชุม
กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
3. อาจารย์ ดร. รัตนาภรณ์ ธนสิริจิรานนท์
กลุ่มวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
……………………………………………………………………………………………………………………………………….

การพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์

คณะกรรมการวิชาการและการจัดการความรู้ คณะนิเทศศาสตร์

ช่องทางการติดต่อสื่อสารออนไลน์มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสารและความเหมาะสมของลักษณะงาน โดยส่วนใหญ่แล้วรูปแบบที่ถกเลือกมามักจะเป็น FB Group และ Line เพราะผู้สอนและผู้เรียนต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีเครื่องมืออื่นที่มีความเหมาะสมกับการทางานแต่ละประเภท เช่น MS Team ที่สามารถรองรับการใช้งานได้ดีเพียงแต่ผู้สอนอาจจะไม่คุ้นเคย อ.ดร.นิคม เป็นผู้สอนที่มีความถนัดและสนใจทางด้านเทคโนโลยีมาโดยตลอด อีกทั้งยังเคยไปร่วมอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคออนไลน์ จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้มาแบ่งปันความรู้ในครั้งนี้ อ.นฤมลเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สอนในหลายรายวิชา และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ในการเรียนการสอนมาโดยตลอด และมีการปรับใช้ตามเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป ทาให้มีการบริหารจัดการชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งสองท่านจึงสามารถนาความรู้เหล่านี้มาแบ่งปันให้แก่ผู้สอนท่านอื่นๆเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นต่อไป ในบางครั้งเกิดปัญหานักศึกษาขาดเรียน ไม่ทราบว่ามีงาน หรือมีการนัดหมายใดๆจากผู้สอน ในบางครั้งไฟล์ที่ลงไว้ใน Line หายเพราะเกินระยะเวลา หรือ นักศึกษาบางคนไม่ชอบเปิดFB ควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างและตรวจข้อสอบออนไลน์ ผ่าน google form

คณะทางานการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์

จากรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปทาให้กิจกรรมต่างๆในชีวิตประจาวันของเราพึ่งพาสื่อออนไลน์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลความรู้ การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร รวมไปถึงการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้การเรียนการสอนของเราสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การเรียนการสอนรวมไปถึงการวัดผลก็ควรมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปแล้ว โดยพฤติกรรมของผู้เรียนต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาไม่จากัดเฉพาะในชั่วโมงเรียนเท่านั้น ทางคณะกรรมการจัดการความรู้ จึงคิดว่าวิธีการนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่คณาจารย์ท่านอื่นๆ จึงได้จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ “การสร้างและตรวจข้อสอบ ผ่าน google form” ขึ้น โดยหวังว่าคณาจารย์จะนาไปปรับใช้ในการเรียนการสอนสาหรับรายวิชาที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนให้มาก

เทคนิคการจัดการห้องเรียน สำหรับนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเรียน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจ สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว เป็นต้น ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ผนวกกับปัจจัยเรื่องประเด็นยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 วรรค 2 และวรรค 3 จึงทาให้เป็นที่น่าสังเกตว่าขณะนี้ในมหาวิทยาลัยมีผู้เรียนซึ่งเป็นนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอยู่จานวนหนึ่ง และมีแนวโน้มที่ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเพิ่มจานวนมากขึ้นในอนาคต โดยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวมีทั้งประเภทที่ต้องการ การดูแลเป็นพิเศษในด้านกายภาพ และมีทั้งประเภทที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในด้านจิตใจ ด้วยข้อจากัดของนักศึกษากลุ่มดังกล่าวทาให้ในบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกได้ส่งผลกระทบต่อตัวนักศึกษา รวมทั้งเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ผู้สอน โดยเฉพาะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น การมอบหมายชิ้นงาน การทากิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงทาให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต จึงได้จัด โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ“เทคนิคการจัดการห้องเรียนสาหรับนักศึกษาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ” ไปประยุกต์ใช้ได้จริง อันจะนาไปสู่การวางแผนและบริหารจัดการการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อจากัดของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว รวมทั้งอันจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

สถาบันอุดมศึกษามีภารกิจที่สาคัญ คือ การผลิตกาลังคนให้มีคุณสมบัติพร้อมเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา จึงควรมีความหลากหลายจากการจัดเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในมหาวิทยาลัย โดยเปลี่ยนวิธีการสอนแบบการบรรยายในชั้นเรียน มาเป็นการสอนโดยนาสื่อการสอนออนไลน์มาช่วยพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ แม้ว่าที่ผ่านมา การเรียนรู้โดยผู้สอนผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ผ่านการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ หรือการวิเคราะห์ปัญหา จาเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเดียวกัน คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง และสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructivist) ด้วยตนเอง แต่การพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ย่อมส่งผลดีมากกว่าการเรียนแบบนั่งรับฟังหรือรับรู้จากสิ่งที่ผู้สอนพูดอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ และการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าการพยายามทาความเข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนอธิบายเพียงด้านเดียว ดังนี้ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญในระดับอุดมศึกษา จึงควรคานึงถึงองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้สอน ผู้เรียน และ การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และทาการค้นคว้าข้อมูลได้ด้วยตนเองภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาเป็นสาคัญ
ดังนั้น คณะนิติศาสตร์ จึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในด้านการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อการสอนออนไลน์และปรับเปลี่ยนการสอนให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน และเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น