หลักจริยธรรมในคนกับการจัดการเรียนการสอน

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

การวิจัยในคนย่อมมีความเสี่ยงและอาจมีผลกระทบต่อบุคคลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรืออาจส่งผล กระทบทางอ้อมต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ สถานภาพทางสังคม หรือชุมชน จึงเป็นหน้าที่ของ นักวิจัยที่จะต้องก าหนดวิธีการวิจัยที่ชัดเจนเป็นระบบ ภายใต้กรอบของจริยธรรมการวิจัยใน มนุษย์ และนักวิจัยต้องดาเนินกระบวนการวิจัยตามแผนการวิจัยที่กาหนดไว้โดยเคร่งครัด เพื่อให้ โครงการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ดีและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ปัจจุบัน มีนักวิจัยนิติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ (Social Science Researcher) บางส่วนที่ยังขาด ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนเนื่องจากจริยธรรมการวิจัยในคน ยังเป็นเรื่องแปลกใหม่สาหรับนักวิจัย และนักวิจัยมักเข้าใจผิด ว่าจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นเรื่องของการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น ซึ่งไม่มี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการวิจัยด้านนิติศาสตร์แต่อย่างใดเลย ส่งผลให้นักวิจัยละเลย เพิกเฉย ต่อการสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องของจริยธรรมการวิจัยในคน ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจที่สาคัญ คือ การผลิตกาลังคนให้มีคุณสมบัติพร้อมเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา จึงควรเพิ่มเติมองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวไว้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ทั้งเป็นการพัฒฯและเพิ่มศักยภาพทั้งต่อผู้สอน ผู้เรียน รวมถึงการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และทาการค้นคว้าข้อมูลได้ด้วยตนเองภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาเป็นสาคัญ ดังนั้น คณะนิติศาสตร์ จึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในด้านการเรียนการสอนโดยกาหนด ประเด็นองค์ความรู้ คือ “หลักจริยธรรมการวิจัยในคน” ให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต โดยกาหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วางแผนร่วมกันกับคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะนิติศาสตร์ ในการดาเนินกิจกรรมให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน และเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการสอบออนไลน์

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ทำให้เกิดการปรับตัวเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดความต่อเนื่อง การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล (วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่, 2563)
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีวิชาการก้าวหน้า รู้จักพัฒนา คุณธรรมนำใจ รับใช้สังคม ยึดหลักสัจจะ-บริการด้วยน้ำใจไมล์ที่สอง โดยดำเนินการตามภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การเรียนการสอนเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของสถาบันระดับอุดมศึกษา ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคได้ดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตให้กับคณาจารย์ของคณะมาอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย โดยการจัดการความรู้เป็นรูปแบบหนึ่งที่ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นตามประเด็นความรู้ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติจริง ทั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่พัฒนาคณะไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ ดังนี้
1. เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2563 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนการสอนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ เป้าประสงค์ที่ 1.2 เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน กลยุทธ์ 1.2.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้อาจารย์มีทักษะการใช้นวัตกรรมในการสอน ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 1.2.1 ร้อยละหลักสูตรที่มีการใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 6 ร้อยละของอาจารย์ที่ใช้นวัตกรรมในการสอน และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม หรือนำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป้าประสงค์ที่ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ และงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลยุทธ์ 2.2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ หรือผลงานนวัตกรรม ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 2.1.1 จำนวนผลงานทางวิชาการ ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 15 จำนวนผลงานทางวิชาการ
2. เป็นความรู้ที่สอดรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เป็นความต้องการของคณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค เนื่องจากเป็นปัญหาขององค์กรที่ประสบอยู่ และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยปีการศึกษา 2563 พบว่าคณาจารย์มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองและการจัดการ
14
ความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการสอบออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตบัณฑิต และการจัดการความรู้ เพื่อ
1) ให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเรียนการสอน การประเมินผล และการสอบออนไลน์ ตามประเด็นความต้องการพัฒนาศักยภาพและการจัดการความรู้
2) พัฒนาศักยภาพด้านการผลิตบัณฑิต สอดรับกับแผนพัฒนาบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
3) ดำเนินการด้านการจัดการความรู้ตามแผนปฏิบัติการประจำปีของมหาวิทยาลัยพายัพ และตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา

การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการสอบออนไลน์

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้
1) อาจารย์เนตรดาว ธงซิว กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
2) อาจารย์ ดร. กาญจนา ใจจ้อย กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและการบริหารการพยาบาล
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ ธรรมจินดา กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาในการสอนนักศึกษาที่ต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยดุริยศิลป์

วิทยาลัยดุริยศิลป์ได้ระบุหัวข้อองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน : จิตวิทยาในการสอนนักศึกษาที่ต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มาจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยได้ร่วมกันประชุมกับคณาจารย์วิทยาลัยดุริยศิลป์ทั้งหมด เพื่อร่วมกันเลือกองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน ซึ่งอาจารย์หลายท่านมีความคิดเห็นว่าจานวนของนักศึกษาที่ต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษมีจานวนเพิ่มมากขึ้นและมีมาอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ ทาให้คณาจารย์ที่ไม่มีความรู้ด้านจิตวิทยาในการสอนนักศึกษาพิเศษไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก และคณาจารย์ยังขาดทักษะในการสื่อสารกับนักศึกษากลุ่มนี้เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียน และปรับตัวให้เข้ากับการเรียนของวิทยาลัยฯได้อย่างมีความสุข ที่ประชุมจึงเห็นว่าหัวข้อนี้มีความน่าสนใจจึงเห็นควรให้เชิญอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ จานวน 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์เนตรดาว ธงซิว อาจารย์ยุวดี อัครลาวัณย์ และอาจารย์ทีปประพิณ สุขเขียว ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นมาเป็นประธานในการจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการสอนและการจัดการเรียนการสอน วิธีการสื่อสารกับนักศึกษากลุ่มพิเศษเพื่อให้คณาจารย์วิทยาลัยดุริยศิลป์มีความสามารถจัดการเรียนการสอนชั้นเรียนที่มีนักศึกษากลุ่มพิเศษเรียนร่วมกับนักศึกษาอื่น และยังทาให้คณาจารย์มีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ การสื่อสารเพื่อให้ตรงเป้าหมาย ตรงประเด็น ตามที่คณาจารย์และนักศึกษากลุ่มพิเศษนี้มีความต้องการ

Online/Blended Teaching During Pandemic Period

KM Committee of International College

As many countries around the world, as part of the consequences of the COVID-19. IC instructors have been struggled with the teaching of coming semester. In fact, teaching around the world has been navigating education systems affected by the pandemic. However, teaching must be on the front line of COVID-19. IC has responded to the pandemic as we needed to start our teaching in the coming semester. With the development of technology, IC has worked on how to start the semester our best for both students who are in Chiang Mai (CM) and outside the country. Only online teaching cannot respond the expectation of two groups of students. Some of our students are in CM and need to come to class while some of them are still outside the country and need to start their semester on time. However,
online teaching is still in our focus. All IC instructors have faced significant challenge in adapting to online and in-class teaching which is called “Blended Teaching”. We have also attempted to remain an effective communication with students who are in classes. It can be said that the COVID-19 pandemic has forced is to transform our lesson into online/blended teaching version in a short period of time.

Offering the quality of teaching and learning to all students/learner inspires us to challenge to make the move.

การเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงิน

ในการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพนั้น ต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาเป็นองค์ประกอบ ทางคณะฯ ตระหนักและได้ให้ความสำคัญต่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก จึงได้ระบุหัวข้อองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน ในด้านการเรียนการสอน ผ่านสื่อออนไลน์ เป็นการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ในการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์ร่วมกัน ต้องมีวินัยจากนักศึกษาที่จะฝักใฝ่ในการเรียนรู้ จากคณะกรรมการบริหาร คณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงิน และทางคณะกรรมการการจัดการความรู้ประจำปี 2563 ได้ร่วมกันประชุมเพื่อเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ทีมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านของการสื่อสารด้านการเรียนการสอน ผ่านสื่อออนไลน์ มีส่วนสำคัญในการทำให้นักศึกษาสนใจและตั้งใจเข้าเรียนแม้จะเป็นการเรียนในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ คือ สถานการณ์โควิด ที่จำเป็นต้องมีการเรียนรู้แบบอยู่กันห่าง ๆ แต่เรียนรู้ร่วมกันได้ มีการเรียนการสอนอย่างเป็นปกติได้ ผ่านการสื่อสารออนไลน์ อีทั้ง เป็นการสร้างเสริมวินัยและความรับผิดชอบของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คณาจารย์ในคณะฯ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในการเรียนการสอนในทางการบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงินได้
ในการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์นั้น อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคณาจารย์บางท่านที่ไม่คุ้นเคยต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป บางครั้งสถานการณ์ที่คับขันแบบนี้ อาจจะทำให้นักศึกษาขาดเรียน ขาดการส่งงาน ขาดการทบทวนบทเรียนเท่าที่จำเป็น การเรียนการสอนที่ใช้การสื่อสารโดยการใช้สื่อออนไลน์ จะทำให้ลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์

สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องปิดการเรียนการสอนในห้องเรียนมาจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ มีการทำกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ในภาคการเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 และต่อเนื่องมีในปีการศึกษา 2563 และเพื่อให้คณะฯ ได้ทราบวิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนของคณะวิชาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการจัดการความรู้จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอน เพื่อเป็นการรวบรวมความรู้และค้นหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะเภสัชศาสตร์

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต่างๆ จาเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนจาก “การเรียนในห้องเรียน” เป็น “การเรียนแบบออนไลน์” เพื่อหลีกเลี่ยงการอยู่รวมกันของนักศึกษาจานวนมาก และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพิ่งเริ่มเป็นที่นิยมภายหลังจากสถานการณ์ COVID-19 ระบาด ดังนั้นอาจารย์ส่วนมากจึงยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมสาหรับสอนแบบออนไลน์

ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ใช้สาหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์หลายโปรแกรม เช่น Microsoft Teams AcuCom และ Zoom เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีวิธีการใช้ จุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกัน เช่น บางโปรแกรมจะมีความล่าช้าในการประมวลผล บางโปรแกรมสามารถให้สิทธิ์อาจารย์เป็นผู้กาหนดให้นักศึกษาเปิดกล้อง เปิดไมโครโฟนได้ บางโปรแกรมสามารถอัพโหลดเอกสารให้นักศึกษาและอาจารย์สามารถตรวจสอบการดาวน์โหลดเอกสารของนักศึกษารายบุคคล บางโปรแกรมไม่อนุญาตให้นักศึกษาเปิดโปรแกรมอื่น หากกาลังเปิดโปรแกรมสอนออนไลน์อยู่ เป็นต้น ดังนั้นเอกสารองค์ความรู้เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ จะมีประโยชน์สาหรับอาจารย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้โปรแกรมสอนออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับรายวิชาที่สอน

นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาที่พบมากสาหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้แก่ นักเรียน/นักศึกษา ไม่มีสมาธิในการเรียน ส่งผลให้ไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน และได้คะแนนสอบน้อย สาเหตุหลักของการที่นักเรียน/นักศึกษาไม่มีสมาธิในการเรียน คือ (1) นักเรียน/นักศึกษามักจะเปิดโปรแกรมอื่น เช่น facebook หรือ website ต่าง ๆ ควบคู่ไปด้วย และ (2) การเรียนแบบออนไลน์สามารถบันทึกวีดีโอไว้ได้ ดังนั้นนักเรียน/นักศึกษาจึงมักเรียนจากวีดีโอที่บันทึกไว้ในภายหลัง แต่ในขณะที่อาจารย์สอน มักจะเปิดโปรแกรมเรียนออนไลน์ทิ้งไว้เฉย ๆ จากปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ ได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น “กิจกรรมที่ช่วยดึงดูดความสนใจของนักศึกษา ระหว่างที่อาจารย์สอนออนไลน์” เพื่อถอดเป็นบทเรียน และ
แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สังเคราะห์ความรู้ สาหรับเป็นแนวทางปฎิบัติสาหรับอาจารย์เพื่อช่วยเพิ่มความสนใจของนักศึกษาในระหว่างที่เรียนออนไลน์

การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์

ในปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์ได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดหัวข้อตามความต้องการของคณาจารย์ในคณะฯ จากนั้นได้สำรวจความต้องการพัฒนาตนเองด้านการผลิตบัณฑิตของคณาจารย์ในคณะฯ ผ่านระบบ Google Form พบว่า หัวข้อ“การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา”เป็นประเด็นที่ถูกเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 34.5 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิชา กล่าวคือ เนื่องจากขณะนี้ในหลายหลักสูตรมีรายวิชาเอกบังคับ “ฝึกประสบการณ์และสหกิจศึกษา”มากขึ้น แต่เกิดปัญหาเรื่องบุคลากรที่เคยผ่านการอบรมมีจำนวนไม่มากนัก เหตุด้วยข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ทำให้บางสาขาวิชามีบุคลากรที่เคยผ่านการอบรมเพียงหนึ่งท่านเท่านั้น หรือบางสาขาวิชาก็พบว่าตัวแทนบุคลากรที่เคยเข้ารับการอบรมไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานในองค์กรแล้ว ทำให้การดึงองค์ความรู้มาใช้ยังไม่เต็มที่เท่าที่ควร รวมทั้งเห็นว่ายังไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่สูญเสียไป นอกจากนี้ยังเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบวิธีการ เทคนิคในการบริหารจัดการที่ดีซึ่งจะต้องอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอนที่เคยผ่านการอบรมและมีประสบการณ์การสอนมาก่อน

ผนวกกับแนวโน้มของการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่มุ่งให้มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน คือการที่สถาบันการศึกษาได้มีการเชื่อมโยงโลกการศึกษากับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ทำให้ประเทศมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีสมรรถนะสูง สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ ที่เป็นเช่นนั้นก็สืบเนื่องมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564 ) ที่มุ่งวางแผนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาในระยะยาวที่ชัดเจน ทั้งนี้ได้เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ในการสร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง ดังนั้นทุกภาคส่วนในสังคมจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต

ความหมายของคำว่า ทุกภาคส่วนในสังคมจำเป็นต้องร่วมมือกัน ในที่นี้ ก็คือ สถานประกอบการและสถาบันการศึกษา สถานประกอบการมีความสำคัญต่ออุดมศึกษาไทยอย่างยิ่ง ในมิติของประสิทธิภาพนั้น สถานประกอบการจัดเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพที่สุดทั้งในด้านบุคลากร กระบวนการ ทักษะความชำนาญ ทุนและเทคโนโลยี ดังนั้นสถานประกอบการจึงไม่ควรทำหน้าที่เพียงมีบทบาทในด้านอุปสงค์(Demand side) ในฐานะองค์กรผู้ใช้บัณฑิตเท่านั้น แต่สถานประกอบการควรมีบทบาทสำคัญในด้านอุปทาน (Supply side) ได้อีกด้วย โดยมีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตบัณฑิตร่วมกับสถานศึกษา และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพบัณฑิตที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ลดเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมในการฝึกอบรมแรงงานเมื่อเริ่มทำงานในสถานประกอบการ ส่วนสถาบันการศึกษานั้นก็มีหน้าที่ วางแผนและบริหารจัดการเรียนการสอน เมื่อสถานประกอบการส่งเสริมให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน และการฝึก ก็จะทำให้บัณฑิตมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตรงตามที่ตลาดแรงงานต้องการ

จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงทำให้คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต จึงได้จัด โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา” ไปประยุกต์ใช้ได้จริง อันจะนำไปสู่การวางแผนและบริหารจัดการการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของหลักสูตร รวมทั้งอันจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป