จริยธรรมในคนกับการทาวิจัยของอาจารย์ ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

จริยธรรมในคนหรือมนุษย์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และถูกนามากาหนดเป็นเงื่อนไขสาคัญในทางวิชาการ ได้แก่ การนาผลการรับรองจริยธรรมในคน มากาหนดเป็นเงื่อนไขสาหรับตอบรับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการ หรือการขอตาแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดารงตาแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 กาหนดว่า งานวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลองจะต้องยื่นหลักฐานการรับรองจากกรรมการจริยธรรมของสถาบัน รวมถึง ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมในมนุษย์ด้วย ทั้งยังปรากฏอีกในกรณีผู้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยนาเงื่อนไขการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้วยเช่นกัน ดังนั้น จริยธรรมในมนุษย์จึงเป็นเรื่องสาคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ การผลิตผลงานวิจัยในประเด็นต่างๆ ย่อมมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์และอาจมีความเสี่ยงหรือมีผลกระทบต่อมนุษย์ซึ่งอาจเป็นผู้ที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยในฐานะผู้ให้ข้อมูลในการรับสัมภาษณ์ การตอบคาถามในลักษณะ focus group หรือการให้ข้อมูลโดยตอบในชุดคาถาม โดยความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรืออาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ สถานภาพทางสังคม หรือชุมชน จึงเป็นหน้าที่ของ นักวิจัยที่ต้องกาหนดวิธีการวิจัยหรือวิธีการเก็บข้อมูลที่มีความชัดเจนและเป็นระบบ ภายใต้กรอบของจริยธรรมในมนุษย์ และนักวิจัยต้องดาเนินกระบวนการวิจัยตามแผนการวิจัยที่กาหนดไว้โดยเคร่งครัด เพื่อให้โครงการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ดีและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ทั้งนี้ แม้เป็นผลงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ (Social Science Researcher) ซึ่ง และนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลหรือเป็นการศึกษาจากเอกสารเพียงอย่างเดียว ที่เรียกว่า การวิจัยเชิงเอกสาร ก็มีความจาเป็นเช่นกันที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติภายใต้หลักการจริยธรรมในมนุษย์เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์จึงได้ดาเนินการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่คณาจารย์ภายในคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามเงื่อนไขและผลิตผลงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research)

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยที่เก็บข้อมูลโดยใช้กลยุทธ์ รูปแบบ และกระบวนวิธีที่หลากหลาย เพื่อให้ได้จุดเด่นที่สนับสนุนกันจากแต่ละวิธีวิจัย รวมทั้งแก้ปัญหาจุดด้อยของแต่ละวิธี หากสามารถดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยย่อมมีคุณภาพดีกว่าการวิจัยเพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (Johnson & Turner, 2003)
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีวิชาการก้าวหน้า รู้จักพัฒนา คุณธรรมนำใจ รับใช้สังคม ยึดหลักสัจจะ-บริการด้วยน้ำใจไมล์ที่สอง โดยดำเนินการตามภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การวิจัยเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของสถาบันระดับอุดมศึกษา ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคได้ดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยให้กับคณาจารย์ของคณะมาอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย โดยการจัดการความรู้เป็นรูปแบบหนึ่งที่ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นตามประเด็นความรู้ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติจริง ทั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่พัฒนาคณะไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ ดังนี้
1. เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2563 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนการสอนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ เป้าประสงค์ที่ 1.2 เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน กลยุทธ์ 1.2.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้อาจารย์มีทักษะการใช้นวัตกรรมในการสอน ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 1.2.1 ร้อยละหลักสูตรที่มีการใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 6 ร้อยละของอาจารย์ที่ใช้นวัตกรรมในการสอน และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม หรือนำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป้าประสงค์ที่ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ และงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลยุทธ์ 2.2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ หรือผลงานนวัตกรรม ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 2.1.1 จำนวนผลงานทางวิชาการ ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 15 จำนวนผลงานทางวิชาการ
2. เป็นความรู้ที่สอดรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เป็นความต้องการของคณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค เนื่องจากเป็นปัญหาขององค์กรที่ประสบอยู่ และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยปีการศึกษา 2563 พบว่าคณาจารย์มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองและการจัดการความรู้ด้านการวิจัยเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research)
10
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ เพื่อ
1) ให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยแบบผสมผสาน ตามประเด็นความต้องการพัฒนาศักยภาพและการจัดการความรู้
2) พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของคณาจารย์ สอดรับกับแผนพัฒนาบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
3) ดำเนินการด้านการจัดการความรู้ตามแผนปฏิบัติการประจำปีของมหาวิทยาลัยพายัพ และตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research)

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งฤดี วงค์ชุม อาจารย์ประจำ
กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
2) อาจารย์ ดร. ศุภนารี เกษมมาลา อาจารย์ประจำ
กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การเขียนบทความทางวิชาการและการผลิตผลงานวิชาการด้านดนตรี

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยดุริยศิลป์

วิทยาลัยดุริยศิลป์ได้ระบุหัวข้อองค์ความรู้ด้านการทาวิจัย : การเขียนบทความทางวิชาการและการผลิตผลงานวิชาการด้านดนตรี มาจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยได้ร่วมกันประชุมกับคณาจารย์วิทยาลัยดุริยศิลป์ทั้งหมด เพื่อร่วมกันเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ด้านการทาวิจัย ซึ่งได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรเศรษฐ์ อุดาการ เพื่อให้เป็นประธาน เนื่องจากอาจารย์ได้รับตาแหน่งทางวิชาการจากการทาผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีและการเขียนบทความทางวิชาการ ทาให้สามารถเล่าและแบ่งปันประสบการณ์การทาผลงานทางวิชาการในแนวทางของดนตรี และแนะนาวิธีการต่างๆที่น่าสนใจ เพื่อให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่สนใจในการเขียนบทความทางวิชาการได้ศึกษาเพิ่มเติม ถึงแม้ว่าจากการจัดการความรู้ที่ได้ทามาตลอด 5 ปี ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทาผลงานวิชาการ ทาให้อาจารย์ประจาวิทยาลัยมีผลงานบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากขึ้นจานวน 5 ท่าน ดังนี้ อาจารย์ธวัช อัศวเดชาฤทธิ์ อาจารย์หัทยา เฮ็ฟเนอร์ อาจารย์ธัญลักษณ์ ภู่ริยะพันธ์ อาจารย์อัจฉรา อุ่นใจ คณาจารย์ยังมีความเห็นว่าควรจัดกิจกรรมด้านการจัดการความรู้ในหัวข้อเดิมเนื่องจากอาจารย์หลายท่านมีประสบการณ์ในการทาผลงานวิชาการแตกต่างกันออกไปทาให้สามารถแบ่งปันความรู้ที่น่าสนใจให้เพื่อนร่วมงานได้ และยังมีความก้าวหน้าใหม่ๆด้านการทาผลงานวิชาการได้แก่ เรื่องการจริยธรรมการวิจัยในคน และการอบรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์และนักวิจัย โดยเฉพาะอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาควรจะทาความเข้าใจและเข้าอบรมเพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรเช่นกัน
จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นในปีการศึกษา 2563นี้ คณาจารย์ทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้เห็นว่าสามารถนาไปใช้ในการทาผลงานทางวิชาการ เพื่อให้ตรงและบรรลุวัตถุประสงค์ของหัวข้อในการทาผลงานทางวิชาการของตัวเองได้มากที่สุด โดยมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงมาช่วยให้คาแนะนาและปรับวิธีการและขั้นตอนในการทาผลงานทางวิชาการให้สาเร็จตามวัตถุประสงค์และยังช่วยให้หลักสูตรสามารถเตรียมความพร้อมของอาจารย์เพื่อให้อาจารย์มีความสามารถเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ในอนาคตต่อไป

Approval Process of Research Funds: Steps of Human Ethics are in Focus

KM Committee of International College

Nowadays, countries around the world, especially developed countries, have established human rights laws covering several aspects, including the law governing the conduct of research on humans or animals. Developed countries also have attempted to stipulate regulations and guidelines for research on human subjects, and promote the adoption of the regulations/guidelines in developing countries, such as guidelines for manufacturing of pharmaceuticals or patent application. Prior to being accepted for publication or granted a patent, or conduct a scientific research investigation involving human subjects, researchers are required to obtain ethical approval from a recognized ethics committee. In addition, seminars and conferences have been conducted on the ethical principles or guidelines for research in human subjects in both developing and developed countries; the outcomes of which have been several declarations.

The most prominent and widely accepted and most commonly referred to is the Declaration of Helsinki of the World Medical Association (WMA), firstly adopted in Helsinki, Finland in B.E.2507. The Declaration has been regularly amended to keep pace with advanced science, technology and social changes. The last amendment was formulated and adopted in Scotland in B.E. 2543. Later, several declarations concerning the conduct of a research on human subjects have  also been adopted. The most essential element of those declarations is to protect the dignity, rights, safety, and well-being of human volunteers or research participants.

เครื่องมือในการวิจัย

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงิน

การพัฒนา การจัดการศึกษาตามพันธกิจอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพระดับสูงนั้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ การสอน การวิจัย และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการผลิตผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเป็นกระบวนการที่สำคัญอีกกระบวนการหนึ่ง เพื่อให้มีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน
ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ทำให้คณาจารย์คณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงิน ได้มีการพัฒนาผลงานวิชาการ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ อันจะทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมคณาจารย์พัฒนาตัวเอง โดยมุ่งแสวงหาความรู้และความคิดใหม่ๆ ทางการศึกษา และเป็นการเพิ่มโอกาสให้คณาจารย์คณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงิน สามารถผลิตผลงานทางวิชาการและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการบริหารคณะบัญชี เศรษฐศาสตร์และการเงินและทางคณะกรรมการการจัดการความรู้ประจำปี 2563 ได้ร่วมกันประชุมเพื่อเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านเครื่องมือในการวิจัยเพื่อให้คณาจารย์ในคณะฯ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในงานวิจัยต่อไป

แนวทางการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพและเกิดผลจากการวิจัยที่นำไปใช้ ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์

การวิจัยถือเป็นกิจกรรมพัฒนาปัญญาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่มนุษย์เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิถีการดำรงชีวิตทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมให้ดีขึ้น ทั้งยังใช้ในการปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง การวิจัยช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติรวมถึงสามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งงานวิจัยยังเป็นภาระหน้าที่อีกประการ
หนึ่งของอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์นั้นมีนักวิจัยทั้งที่เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ นักวิจัยรุ่นใหม่ และผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย การแลกเปลี่ยนเรีนรู้เพื่อให้เกิดความรู้และเห็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพที่จะได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง

แนวทางการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยพายัพให้ทุนสนับสนุนคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์เพื่อทาวิจัย และตีพิมพ์ผลงานวิชาการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก่อนที่อาจารย์จะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย อาจารย์จะต้องยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อนเสมอ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพายัพ ได้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อาจารย์บางท่านสามารถยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยได้ แต่อาจารย์บางท่านไม่สามารถยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยที่มหาวิทยาลัยพายัพได้ สาเหตุเนื่องมาจากลักษณะของงานวิจัยที่แตกต่างกัน โดยคณะกรรมการจริยธรมมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยพายัพ จะรับพิจารณาเฉพาะงานวิจัยกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่านั้น
จากความสับสนเรื่องการยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยพายัพ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะเภสัชศาสตร์ ได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ภายในคณะเภสัชศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยพายัพ และ/หรือมีประสบการณ์ในการขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เพื่อจัดทาแนวทางการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สาหรับอาจารย์ที่ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยพายัพ นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังรวบรวมรายละเอียดและขั้นตอนการขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับอาจารย์ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัยพายัพได้

การวิจัยเชิงบูรณาการ

คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการ และ คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์

ในปีการศึกษา 2563 นี้ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการฯ ได้ทำการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของคณาจารย์ในคณะฯ พบว่า การวิจัยเชิงบูรณาการ เป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอมากเป็นอันดับหนึ่ง สอดคล้องกับสถานการณ์ในวงการวิชาการของประเทศที่ขับเคลื่อนงานวิจัยในเชิงบูรณาการเช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมแบบองค์รวมพร้อมกันทุกภาคส่วน

การบูรณาการงานวิจัยมีหลายลักษณะที่น่าสนใจ อาทิ การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม (Holistically Integrative) การวิจัยเชิงบูรณาการแบบข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary Research) หรือการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ นับเป็นการใช้ศาสตร์วิชาความรู้ที่หลากหลาย เพื่อเติมเต็มการทำงานด้านต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ในเชิงปฏิบัติมากขึ้น เช่น การบริการวิชาการ การเรียนการสอน การพัฒนาหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ ประกอบกับมีคณาจารย์หลายท่านในคณะฯ มีประสบการณ์ด้านการวิจัยเชิงบูรณาการ อาทิ ผศ.ดร.นงนภัส พันธุ์พลกฤต ผศ.ดร.สุธิดา พัฒนาศรีวิเชียร อ.ดร.เอลิสา มิเอะ นิชิคิโตะ และ ผศ.จิรภัทร กิตติวรากูล ที่สามารถมาแบ่งปันความรู้ในประเด็นดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการฯ จึงได้วางแผนและดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็น “การวิจัยเชิงบูรณาการ” เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ในคณะฯ ด้านการวิจัย