แนวทางการพัฒนางานวิจัยจากสมุนไพรท้องถิ่น

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะเภสัชศาสตร์

ในการดาเนินการวิจัยนั้น ส่วนสาคัญหนึ่งที่มักเป็นปัญหาของผู้ดาเนินการวิจัย คือการคิดหัวข้อในการทางานวิจัย โดยเฉพาะสาหรับอาจารย์ผู้ทาวิจัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทาวิจัย ซึ่งการได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทาวิจัยที่สามารถผลิตผลงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยในการคิดหัวข้องานวิจัยได้
งานวิจัยทางเภสัชศาสตร์มีหลากหลายสาขา ซึ่งสาขาหนึ่งที่สาคัญคือการวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร ทั้งที่เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การวิเคราะห์หรือสกัดสารสาคัญ และการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรนั้น ยังสามารถเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1) อาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ ได้อีกด้วย ซึ่งจะมีส่วนทาให้สามารถยื่นขอทุนทาวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ได้
โดยคณะเภสัชศาสตร์ได้มีอาจารย์หลายท่านที่มีประสบการณ์ในการทาวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร และมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ในการพัฒนางานวิจัยจากสมุนไพรในด้านต่าง ๆ ทั้งแนวคิดหรือที่มาของการคิดหัวข้อวิจัย ลักษณะการทาวิจัย รวมทั้งแหล่งทุนที่ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย

การต่อยอดการนิเทศเป็นผลงานวิชาการ

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันอุดมศึกษา มีภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม การพัฒนางานประจำ คือ การจัดการเรียนการสอน การนิเทศ ที่ทำทุกวัน เปลี่ยนปัญหาหน้างาน ให้เป็นผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ (Routine to Research: R2R) จึงถูกนำมาใช้เป็นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางาน ขับเคลื่อนองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ ดังนี้
1. เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2564 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม หรือนำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป้าประสงค์ที่ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ และงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลยุทธ์ 2.2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ หรือผลงานนวัตกรรม ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 2.1.1 จำนวนผลงานทางวิชาการ ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 15 จำนวนผลงานทางวิชาการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป้าประสงค์ที่ 5.2 เพื่อให้บุคลากรและผู้บริหารมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ 5.2.1 ส่งเสริมการจัดการความรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในการพัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 5.2.1 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 39 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย
2. เป็นความรู้ที่สอดรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เป็นความต้องการของคณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค เนื่องจากเป็นปัญหาขององค์กรที่ประสบอยู่ และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยปีการศึกษา 2564 พบว่าคณาจารย์มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองและการจัดการความรู้ด้านการวิจัยเกี่ยวกับการต่อยอดการนิเทศเป็นผลงานวิชาการ
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการจัดการความรู้ เพื่อ
1) ให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อยอดการนิเทศเป็นผลงานวิชาการ ตามประเด็นความต้องการพัฒนาศักยภาพและการจัดการความรู้
2) พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของคณาจารย์ สอดรับกับแผนพัฒนาบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
3) ดำเนินการด้านการจัดการความรู้ตามแผนปฏิบัติการประจำปีของมหาวิทยาลัยพายัพ และตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา

การต่อยอดการนิเทศเป็นผลงานวิชาการ

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ ธรรมจินดา
รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมผกา ปัญโญใหญ่
รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การผลิตผลงานวิชาการทางดนตรีเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยดุริยศิลป์

วิทยาลัยดุริยศิลป์ได้ระบุหัวข้อองค์ความรู้ด้านการทำวิจัย : การผลิตผลงานวิชาการทางดนตรีเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มาจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยได้ร่วมกันประชุมกับคณาจารย์วิทยาลัยดุริยศิลป์ทั้งหมด เพื่อร่วมกันเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ด้านการทำวิจัย ซึ่งได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรเศรษฐ์ อุดาการ เพื่อให้เป็นประธาน เนื่องจากอาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการจากการทำผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีและการเขียนบทความทางวิชาการ ทำให้สามารถเล่าและแบ่งปันประสบการณ์การทำผลงานทางวิชาการในแนวทางของดนตรี และแนะนำวิธีการต่างๆที่น่าสนใจ เพื่อให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่สนใจในการเขียนบทความทางวิชาการได้ศึกษาเพิ่มเติม จากการจัดการความรู้ที่ได้ทำมาตลอด 5 ปี ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำผลงานวิชาการ ทำให้อาจารย์ประจำวิทยาลัยมีผลงานบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากขึ้นจำนวน 5 ท่าน ดังนี้ อาจารย์ธวัช อัศวเดชาฤทธิ์ อาจารย์หัทยา เฮ็ฟเนอร์ อาจารย์ธัญลักษณ์ ภู่ริยะพันธ์ อาจารย์อัจฉรา อุ่นใจ คณาจารย์ยังมีความเห็นว่าควรจัดกิจกรรมด้านการจัดการความรู้ในหัวข้อเดิมเนื่องจากอาจารย์หลายท่านมีประสบการณ์ในการทำผลงานวิชาการแตกต่างกันออกไปทำให้สามารถแบ่งปันความรู้ที่น่าสนใจให้เพื่อนร่วมงานได้ และยังมีความก้าวหน้าใหม่ๆด้านการทำผลงานวิชาการได้แก่ เรื่องการจริยธรรมการวิจัยในคน และการอบรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์และนักวิจัย โดยเฉพาะอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาควรจะทำความเข้าใจและเข้าอบรมเพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรเช่นกัน นอกจากนี้วิทยาลัยฯยังต้องมีการเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์เพื่อเข้าใจกระบวนการนำผลงานวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์เพื่อเข้าสู่กระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ
จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นในปีการศึกษา 2564 นี้ คณาจารย์ทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้เห็นว่าสามารถนำไปใช้ในการทำผลงานทางวิชาการ และทราบแนวทางเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ตรงและบรรลุวัตถุประสงค์ของหัวข้อในการทำผลงานทางวิชาการของตัวเองได้มากที่สุด โดยมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงมาช่วยให้คำแนะนำและปรับวิธีการและขั้นตอนในการทำผลงานทางวิชาการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์และยังช่วยให้หลักสูตรสามารถเตรียมความพร้อมของอาจารย์เพื่อให้อาจารย์มีความสามารถเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ในอนาคตต่อไป

แนวทางการเขียนบทความวิจัย เพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการด้านคริสต์ศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย (TTAC)

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี

การนำเสนอผลงานวิจัยอย่างชัดเจนและตรงประเด็นเป็นสิ่งสำคัญของการเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารีได้จัดประชุมการนำเสนอผลงานวิชาการด้านศาสนศาสตร์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา รวมถึงคณาจารย์และบุคคลทั่วไปเป็นประจำทุกปีโดยใช้ชื่อว่า “Thailand Theological Academic Conference” หรือเรียกสั้นๆ ว่า TTAC เมื่อเป็นดังนี้ คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี ร่วมกับ คณะกรรมการจัดการของการประชุมจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อแนวทางการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการในปีการศึกษา 2564 เพื่อเป็นการพัฒนาการนำเสนอผลการวิจัยของทั้งคณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยฯ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

การวิจัยแบบบูรณาการ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

การวิจัยแบบบูรณา เป็นการวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม การวิจัยแบบบูรณาการจึงควรมีลักษณะสาคัญคือ1) การวิจัยที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆให้เป็นเนื้อเดียวกัน2) สร้างมูลค่า3) เกิดผลดีกับประชาชนจานวนมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร/แหล่งทุนต่างๆ ให้ความสาคัญอย่างมาก
นอกจากนี้สานักงานวิจัยแห่งชาติ ยังได้กล่าวถึงการวิจัยการวิจัยแบบบูรณาการ ในเอกสารแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ ปี พ.ศ. 2549 อีกว่างานวิจัยแบบบูรณาการ เป็นการวิจัยที่ผนวกสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีการรายงานผลงานวิจัยแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กับหน่วยงานบริหารนโยบายระดับชาติเพื่อนาไปสู่การดาเนินนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน มีการกาหนดภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ทันต่อปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ
ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับตัวในการทางานวิจัยของอาจารย์ให้สอดคล้องนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน การวิจัยแบบบูรณาเป็นเรื่องสาคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์จึงได้ดาเนินการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่คณาจารย์ภายในคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามเงื่อนไขและผลิตผลงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์

PYU Guidelines for Human Ethics Research

KM Committee of International College

Nowadays, countries around the world, especially developed countries, have established human rights laws covering several aspects, including the law governing the conduct of research on humans or animals. Developed countries also have attempted to stipulate regulations and guidelines for research on human subjects, and promote the adoption of the regulations/guidelines in developing countries, such as guidelines for manufacturing of pharmaceuticals or patent application. Prior to being accepted for publication or granted a patent, or conduct a scientific research investigation involving human subjects, researchers are required to obtain ethical approval from a recognized ethics committee. In addition, seminars and conferences have been conducted on the ethical principles or guidelines for research in human subjects in both developing and developed countries; the outcomes of which have been several declarations.

The most prominent and widely accepted and most commonly referred to is the Declaration of Helsinki of the World Medical Association (WMA), firstly adopted in Helsinki, Finland in B.E. 2507. The Declaration has been regularly amended to keep pace with advanced science, technology and social changes. The last amendment was formulated and adopted in Scotland in B.E. 2543. Later, several declarations concerning the conduct of a research on human subjects have also been adopted. The most essential element of those declarations is to protect the dignity, rights, safety, and well-being of human volunteers or research participants.

ทักษะการเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ

จากการที่ปรับปรุงหลักสูตรในปีการศึกษา 2565 รวมถึงการเปิดหลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2565 ทาให้ทางหลักสูตรต้องเตรียมอาจารย์ให้มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้การจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ อาจารย์ต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 ผลงานในรอบ 5 ปี สาหรับหลักสูตรปริญญาตรี ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 ผลงานในรอบ 5 ปี จึงทาให้อาจารย์ต้องมีการผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยได้มีประกาศ เรื่อง การผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ซึ่งกาหนดให้อาจารย์ผู้สอนทุกคน ผลิตผลงานทางวิชาการให้แล้วเสร็จอย่างน้อย 1 รายงานในระยะเวลาทุก ๆ 3 ปี โดยนับระยะเวลาต่อจากประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ เรื่อง ปรับเปลี่ยนการผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจา ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
จากที่กล่าวมาทาให้อาจารย์ทุกคนจะต้องผลิตผลงานทางวิชาการ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ จึงจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “เทคนิคการทักษะการเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคม ที่เทียบเท่างานวิจัย

คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์

เนื่องจากประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2560 และ พ.ศ.2563 ได้กำหนดให้ “ผลงานวิชาการรับใช้สังคม” เป็นหนึ่งในผลงานวิชาการที่ใช้ขอกำหนดตำแหน่งได้ ซึ่งนับเป็นลักษณะงานรูปแบบที่ค่อนข้างใหม่และแตกต่างไปจากประกาศที่มีมาก่อนหน้านั้น ประกอบกับในปีการศึกษา 2564 นี้ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการฯ ได้ทำการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของคณาจารย์ในคณะฯ พบว่า “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่เทียบเท่างานวิจัย” เป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอมากเป็นอันดับหนึ่ง
คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการฯ จึงได้วางแผนและดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็น “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่เทียบเท่างานวิจัย” เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ในคณะฯ ด้านการวิจัย เพื่อคณาจารย์จะได้ทราบถึงความหมาย ขั้นตอน และกระบวนการทั้งหมดของการผลิตผลงานวิชาการประเภทนี้ และสามารถใช้เป็นแนวทางเพิ่มเติมในการก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้ต่อไปในอนาคต

การออกแบบสอบถาม

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบัญชี และธุรกิจดิจิทัล

การพัฒนา การจัดการศึกษาตามพันธกิจอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพระดับสูงนั้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ การสอน การวิจัย และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการผลิตผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเป็นกระบวนการที่สำคัญอีกกระบวนการหนึ่ง เพื่อให้มีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน
ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ทำให้คณาจารย์คณะบัญชีและธุรกิจดิจิทัล ได้มีการพัฒนาผลงานวิชาการ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ อันจะทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมคณาจารย์พัฒนาตัวเอง โดยมุ่งแสวงหาความรู้และความคิดใหม่ๆ ทางการศึกษา และเป็นการเพิ่มโอกาสให้คณาจารย์คณะบัญชีและธุรกิจดิจิทัล สามารถผลิตผลงานทางวิชาการและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการบริหารคณะบัญชีและธุรกิจดิจิทัลและทางคณะกรรมการการจัดการความรู้ประจำปี 2564 ได้ร่วมกันประชุมเพื่อเลือกองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการออกแบบสอบถามเพื่อให้คณาจารย์ในคณะฯ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในงานวิจัยต่อไป