วิธีรับมือกับนักศึกษาภาวะโรคซึมเศร้า

คณะกรรมการประกันคุณภาพ สำนักบริหารทรัพย์สิน

การจัดทำ ข้อมูลการให้ความรู้เกี่ยวกับสภาวะโรคซึมเศร้าเพื่อ ให้บุลากรมีความรู้ ความเข้าใจสามารถรับสัญญาณความไม่ปกติจากตัวนักศึกษาในเบื้องต้น ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้บุคลากรมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้า และแนะนำการช่วยเหลือนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกวิธี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานรับนักศึกษา

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สำนักทะเบียนและบริการการศึกษา

ด้วยสำนักทะเบียนและบริการการศึกษา เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการเรียนการสอนแก่อาจารย์ นักศึกษา ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ประกอบกับเห็นความสำคัญของงานรับนักศึกษาที่มีบุคลากรรับผิดชอบจำนวน 1 คน และได้อาจารย์มาช่วยงานในส่วนนี้ ซึ่งให้มาช่วยงานรับนักศึกษาด้วยความสามารถทางด้าน IT จะสามารถมาช่วยและเข้าใจขั้นตอนการรับสมัครเพื่อพัฒนาการรับนักศึกษาต่อไป สำนักทะเบียนและบริการการศึกษา จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้กำหนดประเด็นความรู้เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานรับนักศึกษาขึ้น เพื่อหาคนมาช่วยปฏิบัติงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

แนวทางการขอทุนสนับสนุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความรู้ คณะเภสัชศาสตร์

ในการดำเนินการวิจัยนั้น ส่วนสำคัญหนึ่งที่มักเป็นปัญหาของผู้ดำเนินการวิจัย คือการได้รับทุนสนับสนุนวิจัย โดยแหล่งทุนสนับสนุนวิจัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) แหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัย และ 2) แหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัยนั้นมักจะมีงบประมาณสนับสนุนในวงเงินที่สูงกว่าแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัย แต่จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งทุน และมีการแข่งขันที่สูงกว่าแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัยด้วย จึงเป็นความท้าทายสำหรับอาจารย์ที่ต้องการได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยภายนอกเพื่อผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพสูง
แหล่งทุนสนับสนุนวิจัยภายนอกทั้งที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนมีขอบเขตการให้ทุนสนับสนุนวิจัยหลากหลายสาขา ซึ่งงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์สามารถประยุกต์ได้กับสาขาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะจัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับทุนสนับสนุนวิจัยได้จากหลายหน่วยงาน
ทั้งนี้คณะเภสัชศาสตร์ได้มีอาจารย์หลายท่านที่มีประสบการณ์ในการขอรับทุนสนับสนุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย และได้ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งเทคนิคในการเตรียมความพร้อมในการขอรับทุนสนับสนุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกของอาจารย์แต่ละท่าน จะสามารถช่วยเป็นแนวทางสำหรับอาจารย์ท่านอื่น ๆ ในการขอรับทุนสนับสนุนวิจัยได้ต่อไป

การวิจัยสหวิทยาการ

คณะกรรมการวิจัย บริการวิชาการ และการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยซึ่งมีพื้นภูมิหลังความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ มาร่วมกันทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการวิจัย และเปรียบเทียบผลวิจัยที่ได้ร่วมกัน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ แต่ยังคงมีส่วนที่เป็นความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาเดิมของตน (รัตนะ บัวสนธ์, 2559)
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีวิชาการก้าวหน้า รู้จักพัฒนา คุณธรรมนำใจ รับใช้สังคม ยึดหลักสัจจะ-บริการด้วยน้ำใจไมล์ที่สอง โดยดำเนินการตามภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งด้านการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพให้กับคณาจารย์ของคณะมาอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย อาทิเช่น การพัฒนาภายใต้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ เป็นต้น ประกอบกับมหาวิทยาลัยพายัพ ได้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยมีความร่วมมือภาคีเครือข่ายด้านพยาบาลศาสตร์ และการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ภายในคณะ ตามแผนการส่งเสริมงานวิจัย และแผนการจัดการความรู้ด้านการวิจัย อีกทั้งเพื่อให้สอดรับกับการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงความร่วมมือ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการจัดการความรู้: วิจัยเชิงสหวิทยาการ อย่างไรให้ปัง(ปุริเย่) เพื่อให้คณาจารย์มีแนวทางในการทำวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการร่วมกับต่างสาขาวิชา ต่อไป
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ ดังนี้
1. เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม หรือนำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป้าประสงค์ที่ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ และงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม กลยุทธ์ 2.2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย งานวิจัยเชิงสหวิทยาการ หรือผลงานนวัตกรรม ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 2.1.1 จำนวนผลงานทางวิชาการ ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 50 จำนวนผลงานทางวิชาการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป้าประสงค์ที่ 5.2 เพื่อให้บุคลากรและผู้บริหารมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ 5.2.1 ส่งเสริมการจัดการความรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในการพัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ 5.2.1 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัย 5 จำนวนผลงาน/องค์ความรู้/นวัตกรรมที่พัฒนามหาวิทยาลัย
2. เป็นความรู้ที่สอดรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เป็นความต้องการของคณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค เนื่องจากเป็นปัญหาขององค์กรที่ประสบอยู่ และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยปีการศึกษา 2565 พบว่าคณาจารย์มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองในการทำวิจัยสหวิทยาการ
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และการจัดการความรู้ เพื่อ
1) อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีแนวทางในการพัฒนางานวิจัยเชิงสหวิทยาการ
2) คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคมีโครงร่างการวิจัยเชิงสหวิทยาการ
3) เกิดองค์ความรู้ด้านการวิจัยของคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

การพัฒนาผลงานวิชาการเข้าสู่ TCI1

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะนิติศาสตร์

การวิจัยแบบบูรณา เป็นการวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม การวิจัยแบบบูรณาการจึงควรมีลักษณะสาคัญคือ1) การวิจัยที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆให้เป็นเนื้อเดียวกัน2) สร้างมูลค่า3) เกิดผลดีกับประชาชนจานวนมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร/แหล่งทุนต่างๆ ให้ความสาคัญอย่างมาก
นอกจากนี้สานักงานวิจัยแห่งชาติ ยังได้กล่าวถึงการวิจัยการวิจัยแบบบูรณาการ ในเอกสารแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ ปี พ.ศ. 2549 อีกว่างานวิจัยแบบบูรณาการ เป็นการวิจัยที่ผนวกสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีการรายงานผลงานวิจัยแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กับหน่วยงานบริหารนโยบายระดับชาติเพื่อนาไปสู่การดาเนินนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน มีการกาหนดภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ทันต่อปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ
ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับตัวในการทางานวิจัยของอาจารย์ให้สอดคล้องนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้าซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน การวิจัยแบบบูรณาเป็นเรื่องสาคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การพัฒนาผลงานของอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ในด้านบทความวิชาการ มีความจาเป็นต้องพัฒนาไปอีกระดับหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเดิมอาจารย์จะตีพิมพ์เผยแพร่งานวิชาการในวารสารที่อยู่ใน TCI2 เป็นจานวนมาก ดังนั้น จึงเห็นว่าต้องปรับตัวในการทาผลงานวิชาการให้ไปอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์จึงได้ดาเนินการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่คณาจารย์ภายในคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามเงื่อนไขและผลิตผลงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์ และการพัฒนาผลงานวิชาการเข้าสู่ TCI1 ต่อไป

การขอทุนวิจัยภายในและภายนอก

คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์

เนื่องจากในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์มีผลงานด้านบทความวิชาการ จำนวน 27 ชิ้น มีผลงานวิจัยจำนวน 6 ชิ้น และเงินทุนที่ได้การสนับสนุนวิจัยยังไม่บรรลุเป้าหมายของเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา ผู้ประเมินฯจึงแนะนำว่า ควรสนับสนุนการขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกให้คณาจารย์ในคณะให้มากขึ้น ประกอบกับ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการฯ ปี 2565 ได้ทำการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของคณาจารย์ในคณะฯ พบว่า การกำหนดหัวข้อวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอมากเป็นอันดับหนึ่ง และการขอทุนวิจัยภายนอก เป็นอันดับสอง
คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลงานวิชาการ จึงได้วางแผนและดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็น “การขอทุนวิจัยภายในและภายนอก” โดยกำหนดหัวข้อ “การกำหนดหัวข้อวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อสังคม” เป็นหัวข้อย่อยของหัวข้อการขอทุนวิจัยภายนอก เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ในคณะฯ ด้านการวิจัย เพื่อคณาจารย์จะได้ทราบถึงความหมาย ขั้นตอน และกระบวนการทั้งหมดของการขอทุนวิจัยภายในและภายนอก และสามารถใช้เป็นแนวทางเพิ่มเติมในการขอทุนวิจัยได้ในอนาคต

การกำหนดประเด็นปัญหางานวิจัยและการตั้งหัวข้อวิจัย

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี

จากการที่ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสต์ศาสนศาสตร์ ในปีการศึกษา 2565 และการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดหลักสูตรใหม่ในอนาคต ทำให้ทางวิทยาลัยฯ ต้องเตรียมอาจารย์ให้มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้การจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ อาจารย์ต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 ผลงานในรอบ 5 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 ผลงาน ในรอบ 5 ปี จึงทำให้อาจารย์ต้องมีการผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยได้มีประกาศ เรื่อง การผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ซึ่ง กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทุกคน ผลิตผลงานทางวิชาการให้แล้วเสร็จ อย่างน้อย 1 รายงานในระยะเวลาทุก ๆ 3 ปี โดยนับระยะเวลาต่อจากประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ เรื่อง ปรับเปลี่ยนการผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อีกทั้ง การผลิตผลงานวิชาการด้านงานวิจัยเป็นข้อกำหนดที่ระบุไว้ในระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วย มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2565
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คณาจารย์ทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผลงานวิชาการด้านงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการกำหนดประเด็นปัญหางานวิจัยและการตั้งหัวข้อวิจัย คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี จึงจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การกำหนดประเด็นปัญหางานวิจัยและการตั้งหัวข้อวิจัย” ขึ้น

Training and certification of human research ethics are necessary before the research fund approval process.

KM Committee of International College

Nowadays, countries around the world, especially developed countries, have established human rights laws covering several aspects, including laws governing the conduct of research on humans or animals. Developed countries have also attempted to stipulate regulations and guidelines for research on human subjects and promote the adoption of these regulations/guidelines in developing countries, such as guidelines for the manufacturing of pharmaceuticals or patent applications. Prior to being accepted for publication or granted a patent or conducting a scientific research investigation involving human subjects, researchers are required to obtain ethical approval from a recognized ethics committee. Additionally, seminars and conferences have been conducted on the ethical principles or guidelines for research in human subjects in both developing and developed countries, the outcomes of which have been several declarations. The most essential element of these declarations is to protect the dignity, rights, safety, and well-being of human volunteers or research participants. Various institutions at national and international levels are aware of the ethical issues of research on human subjects. As a result, an ethics committee is appointed whose responsibility is to monitor that the research conducted within the institution adheres to the ethical principles established in the Declaration of Helsinki or other declarations.

In Thailand, the Ministry of Public Health, in cooperation with nine Faculties of Medicine, has organized a series of seminars at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. This resulted in the establishment of the Forum for Ethical Review Committees in Thailand (FERCIT). The FERCIT aims to develop plans for promoting ethical research on human subjects. A Working Group was then appointed to draft ethical guidelines for research on human subjects, which are intended to serve as national guidelines. The national ethical guidelines were developed considering the ethical principles that have their origin in several international guidelines, such as the Declaration of Helsinki of the World Medical Association, the WHO Operational Guidelines for Ethics Committees that Review Biomedical Research, the Council for International Organizations of Medical Science (CIOMS), and the Canadian Ethical Conduct for Research Involving Humans, etc. The ethical guidelines have been published and distributed since 2002, and its English version was available in 2007.