การขอวีซ่าแรกเข้าและการต่ออายุวีซ่าให้แก่นักศึกษาต่างชาติ

สำนักวิเทศสัมพันธ์

การจัดทาเอกสารคาสั่งและประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ การจัดทาหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน การจัดทาเอกสารการประชุมสภามหาวิทยาลัยพายัพ

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สานักงานอธิการบดี

สืบเนื่องจากในปีการศึกษา 2563 มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่งานสารบรรณของสานักงานอธิการบดี ได้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปี ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 และสานักงานอธิการบดี ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่โครงการพี่เลี้ยงและบุคลากรใหม่ซึ่งย้ายมาจากหน่วยงานอื่น (นางอัญญรัตน์ ไชยศิริ) เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านงานสารบรรณ 2 ประเด็นความรู้ คือ การจัดทาเอกสารคาสั่ง/ประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ และเอกสารประกอบการประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัยพายัพ โดยได้จัดทาเป็นเล่มองค์ความรู้และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสานักงานอธิการบดี เพื่อให้บุคลากรได้ศึกษา ทบทวน และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ต่อมาในปีการศึกษา 2564 สานักงานอธิการบดี ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านระบบงานสารบรรณผ่านโครงการพี่เลี้ยง โดยระหว่างปีได้รับการโอนย้ายบุคลากรมาจากหน่วยงานอื่น (นางสาวปรารถนา จงตรอง) จึงกาหนดประเด็นความรู้ใหม่อีก 3 ประเด็น คือ ระบบงานสารบรรณรับเข้า-ส่งออก การจัดทาหนังสือออกและหนังสือโต้ตอบ และการจัดเก็บเอกสารและการทาลายเอกสาร และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมกัน โดยจัดทาเป็นเล่มองค์ความรู้และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสานักงานอธิการบดี

และในปีการศึกษา 2565 มีบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ (นางสาวปรารถนา จงตรอง)ลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น และได้รับบุคลากรใหม่เพื่อทดแทนอัตราเดิม (นางสาววราภัสร์ ดวงฤทธิ์ธวัฒน์)จึงได้กาหนดแผนจัดการความรู้และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นความรู้ที่เป็นงานสาคัญและเร่งด่วน
โดยนาองค์ความรู้เดิมมาปรับข้อมูล เนื้อหา และขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เป็นปัจจุบัน 3 ประเด็นความรู้ คือ
1) การจัดทาคาสั่งและประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ
2) การจัดทาหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน
3) การจัดทาเอกสารการประชุมสภามหาวิทยาลัยพายัพ
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะดาเนินการอย่างต่อเนื่องไปในปีการศึกษาถัดไป เพื่อเป็นการทบทวน และปรับปรุงขั้นตอนการดาเนินงานในระบบงานสารบรรณให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สานักหอสมุด

แผนกบริการสนเทศจะมีบุคลากรเกษียณอายุงานในปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 คน ส่งผลให้แผนกฯ ต้องมีการเตรียมการให้บุคลากรที่เหลืออยู่เรียนรู้งานจากคนที่จะเกษียณอายุ หรือเตรียมสรรหาบุคลากรมาทดแทน เพื่อให้ผู้ที่มาปฏิบัติงานทดแทน หรือบุคลากรใหม่ เกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจในงาน สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แผนกบริการสารสนเทศจึงเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานจัดเรียงหนังสือบนชั้น เพื่อเป็นการเก็บองค์ความรู้และสอดคล้องกับนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย

คู่มือการดูแลสนามกีฬาเทิดพระเกียรติ ๘๔ พรรษามหาราชินี

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สำนักพัฒนานักศึกษา

ด้วยสำนักพัฒนานักศึกษา เป็นหน่วยงานให้บริการบุคลากร นักศึกษา ในด้านสุขภาพ ด้านการทำกิจกรรม ด้านวินัยนักศึกษา ด้านงานทุนการศึกษา รวมทั้งในเรื่องของให้บริการด้านสนามกีฬาอีกด้วย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้อง ให้บริการกับผู้รับบริการทุกกลุ่ม ทั้งอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยพายัพ ในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดทำคู่มือการดูแลสนาม โดยบุคลากรทุกคนจะได้รับการแบ่งปันความรู้ในงานที่เกี่ยวกับการดูแลสนามกีฬา
สำนักพัฒนานักศึกษา จึงเห็นว่าควรมีการจัดการความรู้ในเรื่อง การจัดทำคู่มือการดูแลสนามกีฬา เพื่อให้บุคลากรในสำนักพัฒนานักศึกษา ทุกคนสามารถทำงานแทนกันได้ ในกรณีที่มีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน ไม่สามารถให้บริการในช่วงเวลาที่มีผู้มาขอรับบริการ จะได้ให้บริการแทนได้อย่างทันท่วงที

ขั้นตอนกำรฟ้องบังคับคดี

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สำนักนิติการมหาวิทยาลัยพายัพ

เนื่องด้วยสำนักนิติการนิติการ พบว่าบุคลากรมีความเชี่ยวชาญและมีเทคนิคในการว่าความหรือเทคนิคการฟ้องบังคับคดีที่แตกต่างกัน และงานในสำนักนิติการ มุ่งเน้นในเรื่องของกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากบุคลากรในสำนักฯ มีความเชี่ยวชาญและมีเทคนิคในการฟ้องบังคับคดี ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำนักนิติการจึงเล็งเห็นว่าควรมีการจัดการความรู้ในเรื่อง "การฟ้องบังคับคดี" หนึ่งในงานที่สำคัญมากของสำนักกฎหมายของมหาวิทยาลัยพายัพ และเพื่อให้บุคลากรหรือนิติกรคนใหม่ที่จะมารับผิดชอบดูแลงานการฟ้องบังคับคดีต่อจากบุคลากรที่ได้ออกไป ได้ศึกษาเรียนรู้งาน และสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการฟ้องบังคับคดีต่อไปได้อย่ำงมีประสิทธิภาพจึงได้กำหนดเป็นประเด็นความรู้ ของสำนักฯ ปีการศึกษา 2565 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในเรื่องการพัฒนางาน

ห้องสมุดบลูม / Bloom Library

คณะกรรมการการจัดการความรู้ หน่วยงาน สถาบันภาษาศาสตร์

เนื่องจากภาษามีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในทุกแง่มุมของผู้คน ตั้งแต่ความต้องการในทางปฏิบัติที่เราแต่ละคนเผชิญอยู่ทุกวันไปจนถึงการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของประสบการณ์ในชีวิตและแม้ว่าการศึกษาพหุภาษาและการรู้หนังสือท่ามกลางกลุ่มภาษาของชนกลุ่มน้อยจะกำลังก้าวหน้าไปในหลายๆพื้นที่ทั่วโลก แต่ทว่าการจะผลิตวรรณกรรมหรือสื่อต่างๆในหลากหลายภาษาให้ออกมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็ยังมีอุปสรรคหลายอย่าง
ดังนั้นสถาบันภาษาศาสตร์ ซึ่งทำงานร่วมกับองค์กร SIL เพื่อให้เข้าถึงชุมชนทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการผลิตซอฟต์แวร์ Bloom เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแก่กลุ่มภาษาต่างๆ

การใช้มือถือผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

คณะกรรมการการจัดการความรู้ สานักการตลาดและสื่อสารองค์กร

ด้วยข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรประจำสำนักการตลาดและสื่อสารองค์กร ที่ปัจจุบันมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 5 คน และมีผู้ออกแบบและผลิตสื่อได้เพียง 1 คน คือ นายณัฐพล เหล่ากุลดิลก ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมีมากและต้องสื่อสารอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่สามารถใช้มือถือผลิตสื่ออย่างง่ายได้ ผ่านการใช้งาน Applications ต่าง ๆ ที่ให้บริการ Download ได้ฟรี เพื่อเป็นการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการปรึกษาหารือร่วมกันว่าบุคลากรทุกคนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้มีทักษะในการผลิตสื่ออย่างง่าย อันเป็นทักษะสมัยใหม่ในปัจจุบันที่ใคร ๆ ก็เรียนรู้ ฝึกฝน และทำได้
เมื่อบุคลากรทุกคนเปิดใจต้อนรับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะปรับตัว เพื่อให้ตนเองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้งานของสำนักฯ สำเร็จมากยิ่งขึ้น จึงกำหนดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นเวลา 2 วันที่ได้ใช้เวลาร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ วันที่ 5 เมษายน 2566 และวันที่ 19 เมษายน 2566 ในการสอนงาน (Coaching), เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist), การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) เพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ฝึกฝน จนมีผลงานการผลิตสื่อจากการใช้มือถือคนละ 3 ชิ้นงาน ที่น่าชื่นใจคือ แต่ละผลงานมีความสวยงามมากขึ้นตามทักษะที่ได้รับการฝึกฝนและพัฒนา และนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้จริง